最新消息 รวม - imedtac Co., Ltd.

ข่าวสาร 

Our Malaysian partner, BCM Alliance, participated in APHM International Healthcare Conference & Exhibition 2023, which is held at the Kuala Lumpur Convention Center from May...
ไม่มีที่ข้อแม้สำหรับข้อผิดพลาดเมื่อมีชีวิตของผู้ป่วยเข้ามาเกี่ยวข้อง ศัลยแพทย์ได้รับการศึกษาและการฝึกอบรมอย่างจริงจังเคร่งครัดเพื่อให้ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดได้อย่างสมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่จำกัดและเวิร์กโฟลว์ที่ไม่มีประสิทธิภาพในห้องผ่าตัดแบบดั้งเดิมยังคงส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและผลลัพธ์ของการผ่าตัด โชคดีที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากกว่า นั่นก็คือห้องผ่าตัดอัจฉริยะ  ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่าห้องผ่าตัดอัจฉริยะทำงานอย่างไร ความแตกต่างเมื่อเทียบกับห้องผ่าตัดแบบดั้งเดิม และกรณีศึกษาในตะวันออกกลาง   ห้องผ่าตัดอัจฉริยะคืออะไร? ลองนึกภาพห้องผ่าตัดอัจฉริยะ หรือที่เรียกว่าห้องผ่าตัดดิจิตอล เป็นศูนย์กลางที่รวมข้อมูลการผ่าตัดทั้งหมดเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลจากซอฟต์แวร์อื่นๆ ภาพCTหรือultrasound รายการตรวจสอบ เครื่องจับเวลา และวิดีโอในห้องผ่าตัด ทุกอย่างจะแสดงบนหน้าจอเดียวที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการเชื่อมต่อแบบดิจิตอลทั้งภายในและภายนอกห้องผ่าตัด  ข้อแตกต่างที่สำคัญที่สุดระหว่างห้องผ่าตัดแบบดิจิตอลกับห้องผ่าตัดแบบแบบดั้งเดิมคือความสามารถในการเชื่อมต่อที่นอกเหนือขอบเขตของห้องผ่าตัด เนื่องจากห้องผ่าตัดแบบดั้งเดิมนั้นแยกตัวออกจากกันอิสระ...
หุ่นยนต์จัดจ่ายยาอัตโนมัติ” หรือ “หุ่นยนต์จัดจ่ายยาอัจฉริยะ” (Automated Dispensing Cabinet: ADC) ถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการจัดการยา ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย หุ่นยนต์จัดจ่ายยาอัตโนมัติสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการจ่ายยาผิดพลาดและเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการยาแก่ผู้ป่วย ในบทความนี้ เราจะมาดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทำงานของหุ่นยนต์จัดจ่ายยาอัตโนมัติและการใช้งานในโรงพยาบาล   ประโยชน์ของหุ่นยนต์จัดจ่ายยา การใช้หุ่นยนต์จัดจ่ายยาในสถานพยาบาลเป็นการลงทุนที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและความแม่นยำในการจ่ายยา การใช้หุ่นยนต์จัดจ่ายยามีประโยชน์ดังนี้ เพิ่มความแม่นยำและลดความผิดพลาดในการจ่ายยา: หุ่นยนต์จัดจ่ายยาช่วยลดโอกาสในการจ่ายยาผิดพลาดด้วยระบบการจ่ายยาที่มีความแม่นยำสูง ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามปริมาณและชนิดที่ถูกต้อง ลดเวลาที่ใช้ในการจ่ายยา: การจ่ายยาแบบอัตโนมัติช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถจัดการเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องเสียเวลาในการจัดและจ่ายยาเอง ทำให้มีเวลาให้กับผู้ป่วยมากขึ้น เพิ่มความปลอดภัยในการจัดเก็บยา: หุ่นยนต์จัดจ่ายยามีระบบรักษาความปลอดภัยสูง...
นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ สถานพยาบาลก็คลาคล่ำไปด้วยผู้ป่วยจำนวนมากเนื่องจากปัญหาสุขภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้การเดินทางของผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลเป็นไปอย่างยากลำบากและต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าจะได้รับการดูแลรักษา อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีความเคลื่อนไหวที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาและความไม่สะดวกเหล่านี้ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เทเลเมดิซีน Telemedicine และ Telehealth ได้ถูกนำมาใช้เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงแพทย์และบริการด้านสุขภาพ ไม่เพียงแค่ในพื้นที่ห่างไกล แต่ยังรวมถึงในสถานการณ์ที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วมและแผ่นดินไหว ซึ่งส่งผลให้การเดินทางไปยังสถานพยาบาลเป็นไปได้ยากลำบาก ช่วยลดความยุ่งยากและความจำเป็นในการออกจากบ้านเพื่อไปพบแพทย์ แต่อะไรคือประโยชน์ที่แท้จริงของ Telehealth และ Telemedicine? และอะไรคือข้อแตกต่างระหว่าง Telehealth และ Telemedicine? เทเลเมดิซีน...
หลายปีที่ผ่านมา การปรับใช้เทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติในโรงพยาบาลเป็นที่แพร่หลายอย่างมากทั่วโลก การเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัตินั้นก็เพื่อปรับปรุงปัญหาความไร้ประสิทธิภาพต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้านการกระจายยา เนื่องด้วยความต้องการด้านบริการสุขภาพเพิ่มขึ้น ระบบจ่ายยาอัตโนมัติจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อกระจายงานเภสัชกรรม ปรับปรุงคุณภาพงานบริการผู้ป่วย ส่งเสริมการทำงานของเจ้าหน้าที่ ลดความผิดพลาดทางการแพทย์ และลดต้นทุนแรงงาน แต่ระบบจ่ายยาอัตโนมัติสำหรับโรงพยาบาลนั้นจะทำประโยชน์ดังที่กล่าวมาข้างต้นและเพิ่มจุดให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างไร?   ทำไมโรงพยาบาลถึงต้องการระบบจ่ายยาอัตโนมัติ? ระบบจ่ายยาแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่จะต้องทำมือและทำโดยเภสัชกรเป็นหลัก เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะต้องเดินไปมาระหว่างตู้เก็บยา โกดังยา และห้องวิสัญญี เพื่อเบิกยาและของใช้ต่าง ๆ ซึ่งทำให้กระบวนการทำงานของโรงพยาบาลช้าลง เสียเวลาดูแลผู้ป่วยและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้ ข้อบกพร่องในอุตสาหกรรมการบริการสุขภาพเหล่านี้ อาจสร้างความไม่พึงพอใจให้แก่ทีมแพทย์หลายฝ่าย รวมถึงกีดกันผู้ป่วยจากการเข้าถึงสิทธิ์การรักษาที่เท่าเทียม...
กระดานสื่อสาร อัปเดตอัตโนมัติ ไม่เปลืองแรง การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพส่งผลกระทบหลายประการต่อธุรกิจ และมีผลกระทบร้ายแรงในแง่ของอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ การวินิจฉัยผิดพลาดและข้อผิดพลาดทางการแพทย์อาจเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้น แฟ้มประวัติคนไข้ (บัตรข้อมูลผู้ป่วย) จึงเป็นสิ่งจำเป็นของห้องพักผู้ป่วยทั่วโลก เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์ แฟ้มคนไข้แบบดั้งเดิมจึงถูกแทนที่ด้วยกระดานดิจิตอล และเพื่อใช้ประโยชน์จากบอร์ดสื่อสารแบบดิจิตอล เราต้องเริ่มจากการสร้างบทบาทในสถานพยาบาลให้กระดานนี้ บทบาทของกระดานสื่อสารคืออะไร?  กระดานสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้สื่อสารระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย โดยทีมแพทย์สามารถใช้กระดานในการแจ้งแผนการดูแลและความคืบหน้าของผู้ป่วยในแต่ละวัน เนื่องจากมีคนเข้าออกห้องผู้ป่วยรายวัน กระดานสื่อสารจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าทุกฝ่าย ทั้งแพทย์ พยาบาล ผู้ป่วย และสมาชิกในครอบครัว...
2
Scroll to Top