ห้องผ่าตัดไฮบริด (Hybrid Operating Room หรือ Hybrid OR) คือห้องผ่าตัดที่ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อข้อจำกัดของห้องผ่าตัดแบบดั้งเดิม ซึ่งมักประสบปัญหาด้านพื้นที่ที่จำกัด ความยากลำบากในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ และการรวบรวมของระบบภาพและข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการผ่าตัดและความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการทำงานของทีมแพทย์ แต่ยังมีผลกระทบโดยตรงต่อผลลัพธ์ของการผ่าตัด
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ ห้องผ่าตัดไฮบริดและห้องผ่าตัดอัจฉริยะ (Smart OR) ได้กลายมาเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการผ่าตัด ห้องผ่าตัดไฮบริดรวบรวมอุปกรณ์ภาพขั้นสูงและเครื่องมือผ่าตัดเข้าด้วยกัน ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัด ลดระยะเวลาในการผ่าตัด และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ห้องผ่าตัดอัจฉริยะยังผสานรวมเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปด้วย ทำให้ทีมผ่าตัดได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูลอย่างครบถ้วน รวมถึงการทำงานร่วมกันจากระยะไกล ซึ่งช่วยให้กระบวนการทำงานราบรื่นขึ้นและเพิ่มความปลอดภัยของผู้ป่วย
ข้อดี และการประยุกต์ใช้ของห้องผ่าตัดไฮบริด
ห้องผ่าตัดไฮบริดคือห้องผ่าตัดที่รวมเทคโนโลยีการถ่ายภาพขั้นสูง ((เช่น การถ่ายภาพหลอดเลือด, CT MRI เป็นต้น) เข้ากับเครื่องมือผ่าตัด ทำให้ศัลยแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลภาพแบบเรียลไทม์ที่แม่นยำในระหว่างการผ่าตัด ซึ่งช่วยเพิ่มความแม่นยำและลดความซับซ้อนในการผ่าตัด ข้อดีหลักของห้องผ่าตัดไฮบริด ได้แก่:
การนำทางด้วยภาพแบบเรียลไทม์
เทคโนโลยีการถ่ายภาพช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถระบุตำแหน่งของรอยโรคได้อย่างแม่นยำในระหว่างการผ่าตัด เพื่อลดความเสี่ยงของความผิดพลาด
ลดระยะเวลาการผ่าตัด
การใช้งานด้วยภาพที่มีประสิทธิภาพช่วยลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนและการตรวจสอบซ้ำในระหว่างการผ่าตัด
ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ
ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องถูกเคลื่อนย้ายบ่อยครั้งในระหว่างการผ่าตัด ซึ่งช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ
การทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพ
แพลตฟอร์มที่รวบรวมฟังชั่นที่หลากหลายไว้ด้วยกัน ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาทางการแพทย์สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
การรวบรวมแพลตฟอร์มข้อมูลช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างสาขาวิชาทางการแพทย์และเพิ่มความคล่องตัวของกระบวนการทำงาน
ความแตกต่างระหว่างห้องผ่าตัดไฮบริดและห้องผ่าตัดอัจฉริยะ
ห้องผ่าตัดไฮบริดเน้นการรวมการผ่าตัดเข้ากับการถ่ายภาพแบบเรียลไทม์ ขณะที่ห้องผ่าตัดอัจฉริยะ นำเสนอการใช้งานในรูปแบบดิจิทัลและอัจฉริยะที่ครอบคลุมการทำงานมากยิ่งขึ้น
ห้องผ่าตัดอัจฉริยะหรือห้องผ่าตัดดิจิตอลรวบรวมประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย อุปกรณ์การผ่าตัดในห้อง ภาพถ่ายในระหว่างผ่าตัด รายการตรวจสอบในห้องผ่าตัด และข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยข้อมูลข้างต้นสามารถจัดการผ่านแพลตฟอร์มที่รวบรวมไว้เป็นหนึ่งเดียว และสามารถปรึกษาโต้ตอบกับผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถให้คำปรึกษาระยะไกลและร่วมมือในการผ่าตัดได้
ข้อดีของห้องผ่าตัดอัจฉริยะ
การรวบรวมภาพที่ใช้ในการผ่าตัด
รวมภาพและข้อมูลที่สำคัญทั้งหมดแสดงผลในจอเดียว ทำให้ทีมแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วและเพิ่มความคล่องตัวในกระบวนการทำงาน
การเพิ่มความปลอดภัยของผู้ป่วย
ห้องผ่าตัดอัจฉริยะจะมีการตรวจสอบความปลอดภัยทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการผ่าตัด รวมถึงบันทึกการใช้อุปกรณ์และวัสดุ เพื่อป้องกันการละเลยหรือหลุดลืมอุปกรณ์
รองรับการให้คำปรึกษาและการสอนระยะไกล
การร่วมมือผ่านวิดีโอระยะไกลทำให้สามารถให้คำปรึกษาได้ทันที อีกทั้งยังสามารถบันทึกขั้นตอนการผ่าตัดเพื่อใช้ในการสอนหรือวิจัยทางคลินิก
ตัวอย่างเช่น ระบบ iMOR ที่พัฒนาโดย Wise Medical ได้รวมการตรวจสอบความปลอดภัยของการผ่าตัดและแสดงกระบวนการผ่าตัดทั้งหมดในจอเดียว ช่วยให้พยาบาลสามารถตรวจสอบความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างคล่องตัวและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย
การประยุกต์ใช้และกรณีศึกษาของห้องผ่าตัดไฮบริด
ห้องผ่าตัดไฮบริดถูกนำมาใช้ในหลายสาขาทางการแพทย์ โดยเฉพาะสาขาศัลยกรรมหัวใจและหลอดเลือด, ศัลยกรรมประสาทและสมอง, และศัลยกรรมกระดูก ตัวอย่างเช่น:
ศัลยกรรมหัวใจและหลอดเลือด
การรักษาหลอดเลือดหัวใจและการเปลี่ยนลิ้นหัวใจจำเป็นต้องใช้ภาพ นำทางที่ แม่นยำ ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของการผ่าตัดได้อย่างมาก
ศัลยกรรมประสาทและสมอง
ระบบนำทางที่แม่นยำในห้องผ่าตัดไฮบริดช่วยให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดเนื้องอกในสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด
ศัลยกรรมกระดูก
ห้องผ่าตัดไฮบริดสามารถช่วยให้มีภาพเรียลไทม์ระหว่างการผ่าตัดเปลี่ยนข้อและการยึดกระดูกสันหลัง ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
โรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศไทยได้นำเทคโนโลยีห้องผ่าตัดไฮบริดมาประยุกต์ใช้ ซึ่งช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของการผ่าตัด ลดภาวะแทรกซ้อน และทำให้ผลการรักษาผู้ป่วยมีผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
กรณีศึกษา 1: ระบบนำทางที่แม่นยำสำหรับการผ่าตัดที่ซับซ้อน
สถานที่: โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
กรณี: ทารกแรกเกิดที่มีข้อบกพร่องหัวใจแต่กำเนิดต้องได้รับการผ่าตัดหัวใจที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งแพทย์สามารถร่างโครงสร้างหัวใจของทารก ติดตามการไหลเวียนของเลือด และการทำงานของหัวใจแบบเรียลไทม์ระหว่างการผ่าตัดโดยใช้ระบบภาพ 3 มิติในห้องผ่าตัดแบบไฮบริด ส่งผลให้ผลการผ่าตัดประสบความสำเร็จ
กรณีศึกษา 2: การผ่าตัดแบบแผลเล็กเพื่อลดอาการเจ็บปวดหลังผ่าตัด
สถานที่: โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา
กรณีศึกษา: ผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในสมองจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดแบบเปิดกะโหลกศีรษะ โดยศัลยแพทย์ได้ใช้ระบบนำร่องในห้องผ่าตัดไฮบริดเพื่อระบุตำแหน่งของเนื้องอกและดำเนินการผ่าตัดโดยใช้เทคนิคการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ซึ่งช่วยลดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อโดยรอบ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ดีและมีอาการเจ็บปวดหลังผ่าตัดลดลงอย่างชัดเจน
กรณีศึกษา 3: การทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผ่าตัด
สถานที่: โรงพยาบาลเวชธานี
กรณีศึกษา: ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการตรวจและรักษาผ่านเส้นเลือดโดยการใช้สายสวน ซึ่งการใช้ห้องผ่าตัดไฮบริดที่มีอุปกรณ์ครบครันจากทั้งแผนกรังสีและแผนกศัลยกรรมหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ทั้งศัลยแพทย์และรังสีแพทย์สามารถทำงานร่วมกันในห้องผ่าตัดเดียวกัน ลดเวลาในการผ่าตัดและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
รูปภาพ: imedtac โดยการส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้ประชาชนมากกว่า 500 ราย ณ โรงพยาบาลวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ณ วันที่ 7-8 เมษายน พ.ศ.2567 โดยการนำเทคโนโลยีการผ่าตัดด้วยระบบ 3 มิติ (3D Surgical Monitor) นวัตกรรมจากไต้หวัน เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตัดติ่งเนื้องอกในสำไส้ใหญ่ หรือ Polyp ในกรณีที่พบเจอระหว่างการส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
ค่าใช้จ่ายและข้อควรพิจารณาในการสร้างห้องผ่าตัดไฮบริด
การสร้างห้องผ่าตัดไฮบริดนั้นมีข้อควรพิจารณาที่สำคัญหลายประการ ได้แก่
1. ค่าอุปกรณ์
เครื่องถ่ายภาพและเครื่องมือผ่าตัดคุณภาพสูง เช่น เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือด เครื่อง CT เครื่อง MRI และเครื่อง C-arm มีราคาสูง และนอกจากนี้การผสานรวมครื่องมือสำหรับการผ่าตัดแผลเล็กและระบบนำทางในระหว่างการผ่าตัดต้องการการเงินลงทุนจำนวนมาก ดังนั้นต้องคำนึงถึงทั้งค่าใช้จ่ายในการจัดหาเริ่มต้นและการดูแลรักษาระยะยาว
2. การออกแบบภายในห้องผ่าตัด
ห้องผ่าตัดต้องออกแบบให้สามารถรองรับอุปกรณ์ผ่าตัดที่หลากหลายเช่น เตียงผ่าตัด เครื่องถ่ายภาพ เครื่องเฝ้าติดตาม และพื้นที่เก็บอุปกรณ์ปลอดเชื้อ เพื่อให้การทำงานและการเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างราบรื่นในสภาพแวดล้อมที่ปลอดเชื้อ นอกจากนี้ การควบคุมความสะอาดของอากาศ อุณหภูมิ และความชื้นก็เป็นปัจจัยสำคัญ
3. การผึกอบรมบุคลากร
ทีมแพทย์จำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมเฉพาะทางในการใช้เทคโนโลยีในห้องผ่าตัดไฮบริด เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเชี่ยวชาญ โดยการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องช่วยให้ทีมผ่าตัดตามทันเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่กำลังพัฒนาอยู่เสมอ
4. พาร์ทเนอร์ธุรกิจ
ต้องมีพันธมิตรที่มีประสบการณ์ในการรวบรวมระบบ ที่สามารถให้บริการตั้งแต่การออกแบบ การจัดหาอุปกรณ์ ไปจนถึงการติดตั้งและการบำรุงรักษา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินการห้องผ่าตัดไฮบริดให้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ พันธมิตรที่เหมาะสมยังต้องคอยบำรุงรักษาและอัปเกรดเทคนิคให้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านไปใช้เทคโนโลยีใหม่เป็นไปอย่างราบรื่น
5. แนวโน้มการพัฒนาในอนาคต
ในอนาคต เทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI), หุ่นยนต์, และการแพทย์ทางไกลจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เทคโนโลยีในห้องผ่าตัดอัจฉริยะและห้องผ่าตัดไฮบริดจะยิ่งผสานเข้าด้วยกันมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผ่าตัดและความปลอดภัยของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น และเราอาจเห็นเทคโนโลยี AI ในการวินิจฉัย การวิเคราะห์ภาพ และการวางแผนการผ่าตัดมากขึ้น ซึ่งจะช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานในการผ่าตัดและเพิ่มประสิทธิภาพทางการแพทย์ไปอีกขั้น
หากคุณเป็นผู้ให้บริการระบบสุขภาพในประเทศไทยและต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการผ่าตัดในโรงพยาบาลและความปลอดภัยของผู้ป่วย การจัดตั้งห้องผ่าตัดไฮบริดอาจเป็นคำตอบที่เหมาะสมที่สุด โปรดติดต่อเราเพื่อเรียนรู้วิธีการการจัดตั้งห้องผ่าตัดไฮบริดห้องผ่าตัดที่ทันสมัยและช่วยสร้างระบบการดูแลสุขภาพที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่:
E-mail : sales@imedtac.com
ติดต่อเรา : https://www.imedtac.com/th/contact/
บทความ ห้องผ่าตัดไฮบริด ที่เกี่ยวข้อง:
ปฏิวัติการผ่าตัด: การเพิ่มขึ้นของห้องผ่าตัดอัจฉริยะ
smart hospital คืออะไร ประโยชน์ของระบบโรงพยาบาลอัจฉริยะ