การเกิดภัยพิบัติส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหายหลายพันราย บ้านเรือนมากกว่า 200 หลังคาเรือน ถูกไฟไหม้ น้ำไม่ไหลและไฟฟ้าดับ รวมถึงสถานพยาบาลได้รับความเสียหาย ในสถานการณ์เช่นนี้ จะทำอย่างไรให้การรักษาทางการแพทย์แก่ผู้ประสบภัยมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับโรงพยาบาล ในเมื่อทรัพยากรทางการแพทย์มีอยู่อย่างจำกัด?
ตามรายงานของ Notaya TV โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยไอจิ (Aichi University Hospital) ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติโดยการส่งโรงพยาบาลตู้คอนเทนเนอร์ (Medical Container) ตู้คอนเทนเนอร์พิเศษนี้ติดตั้งห้องตรวจประสิทธิภาพเทียบเท่ากับโรงพยาบาล ซึ่งเป็นตู้คอนเทนเนอร์ทางการแพทย์ใหม่ล่าสุดจากบริษัทการแพทย์ของญี่ปุ่น “Sansei”
โรงพยาบาลตู้คอนเทนเนอร์มีความคล่องตัวสูงช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถให้การรักษาและช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที เช่น การช่วยชีวิตและการใส่ท่อช่วยหายใจให้กับผู้ป่วยในพื้นที่ที่ใกล้เคียงที่สุด นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์แรงดันลบที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับรับมือกับโรคติดเชื้อ
ในพื้นที่ที่ทรัพยากรทางการแพทย์ขาดแคลน โรงพยาบาลตู้คอนเทนเนอร์ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด “โรงพยาบาลตู้คอนเทนเนอร์มีสภาพแวดล้อมทางการแพทย์ที่ดีในการรักษาผู้ป่วยอาการหนักได้อย่างรวดเร็วที่สุด” เอโซ วาตานาเบะ (Eizo Watanabe) Director of the Advanced Critical Care and Critical Care Center at Aichi Medical University Hospital
โรงพยาบาลตู้คอนเทนเนอร์ ไม่เพียงแต่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรทางการแพทย์ในพื้นที่ภัยพิบัติเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้กับพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่ห่างไกลได้เช่นเดียวกัน
imedtac ช่วยได้!
imedtac ร่วมมือกับ Sansei พัฒนาโรงพยาบาลตู้คอนเทนเนอร์การแพทย์ทางไกล (Telemedicine Container) โดยในอนาคตโรงพยาบาลตู้คอนเทนเนอร์นี้จะติดตั้ง iMVS, iMTele, CarePackage และโซลูชั่นการแพทย์ทางไกลอื่น ๆ ของ imedtac เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในพื้นที่ประสบภัยพิบัติหรือชนบทพื้นที่ห่างไกลให้สามารถเข้าถึงการแพทย์ได้อย่างทันทีจากทีมแพทย์
iMVS: ออกแบบมาเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ข้อมูลจะถูกอัปโหลดแบบเรียลไทม์ไปยังแพลตฟอร์มคลาวด์ โดยสามารถเชื่อมต่อกับ HIS (Hospital Information Systems) หรือ NIS (Nursing Information Systems) เพื่อให้ผู้ดูแลหรือบุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลผู้ป่วยได้จากระยะไกล โดยสถานีสัญญาณชีพอัจฉริยะ (Healthcare Station) สามารถลดข้อจำกัดของระยะทาง นำไปสู่การให้บริการดูแลสุขภาพและการแพทย์แบบดิจิทัล ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการบริการปฐมภูมิ(Primary Care)ในเขตพื้นที่ชุมชน
- การวัดและการแสดงผลสัญญาณชีพ
- แสดงผลทางกราฟิกผ่านเสียงและวิดีโอ ง่ายต่อการใช้งาน
- อัปโหลดข้อมูลสัญญาณชีพแบบเรียลไทม์และรองรับระบบแพลต์ฟอร์มสำหรับเจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์
- วิเคราะห์ข้อมูลสัญญาณชีพของผู้ป่วย PHR (Personal Health Records)
iMTele: รวบรวมข้อมูลผู้ป่วย ให้บริการวิดีโอทางไกล และข้อมูลสัญญาณชีพไว้ในแพลตฟอร์มเดียว ทำให้การให้คำปรึกษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญง่ายขึ้น และสามารถให้การดูแลผู้ป่วยเฉพาะทางได้อย่างทันท่วงที
- รองรับการสนทนาทางวิดีโอหลายบุคคล
- แสดงข้อมูลของผู้ป่วยแบบเรียลไทม์ในแดชบอร์ดเดียว
- สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้อีกมากมาย
Care Package : สัญญาณชีพจะถูกอัปโหลดไปยังคลาวด์โดยอัตโนมัติ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์หรือสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ห่างไกลได้การรับแจ้งเตือนอย่างรวดเร็ว
- 5-in-1 อุปกรณ์ที่กะทัดรัดและพกพาสะดวกสำหรับแพทย์เคลื่อนที่
- อัปโหลดข้อมูลบนคลาวด์ เพื่อดูภาพรวมของสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว
- รองรับการแจ้งเตือนหากสัญญาณชีพมีความผิดปกติ
เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรทางการแพทย์ที่ดีที่สุด และเพื่อให้บรรลุความเท่าเทียมกันทางการแพทย์ imedtac มุ่งมั่นที่จะพัฒนาโซลูชั่นการแพทย์ทางไกลที่ครอบคลุม และก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านโซลูชั่นด้านการแพทย์อัจฉริยะในเอเชีย
แหล่งข่าว: Nagoya Broadcasting Network