เทเลเมดิซีน Telemedicine กับ Telehealth แตกต่างกันอย่างไร
อะไรคือข้อแตกต่างระหว่าง Telehealth และ Telemedicine

เทเลเมดิซีน Telemedicine กับ Telehealth แตกต่างกันอย่างไร

นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ สถานพยาบาลก็คลาคล่ำไปด้วยผู้ป่วยจำนวนมากเนื่องจากปัญหาสุขภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้การเดินทางของผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลเป็นไปอย่างยากลำบากและต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าจะได้รับการดูแลรักษา

อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีความเคลื่อนไหวที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาและความไม่สะดวกเหล่านี้ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เทเลเมดิซีน Telemedicine และ Telehealth ได้ถูกนำมาใช้เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงแพทย์และบริการด้านสุขภาพ ไม่เพียงแค่ในพื้นที่ห่างไกล แต่ยังรวมถึงในสถานการณ์ที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วมและแผ่นดินไหว ซึ่งส่งผลให้การเดินทางไปยังสถานพยาบาลเป็นไปได้ยากลำบาก ช่วยลดความยุ่งยากและความจำเป็นในการออกจากบ้านเพื่อไปพบแพทย์

แต่อะไรคือประโยชน์ที่แท้จริงของ Telehealth และ Telemedicine? และอะไรคือข้อแตกต่างระหว่าง Telehealth และ Telemedicine?

เทเลเมดิซีน Telemedicine กับ Telehealth แตกต่างกันอย่างไร

เทเลเมดิซีน Telemedicine และ เทเลเฮลท์ Telehealth คืออะไร

เทเลเมดิซีน (Telemedicine)

เทเลเมดิซีน หรือ “โทรเวชกรรม” หรือ “การแพทย์ทางไกล” หมายถึง การที่ผู้ป่วยสามารถสื่อสารกันผ่าน VDO Call หรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ โดยผู้ป่วยสามารถรับคำแนะนำ วินิจฉัยโรค และการรักษาทางการแพทย์เบื้องต้นได้โดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล ทำให้การเข้าถึงการรักษาเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็

ตัวอย่างของเทเลเมดิซีน(Telemedicine):

  • ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ผ่าน VDO Call เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย  
  • แพทย์ตรวจสอบผลการตรวจสุขภาพของผู้ป่วยผ่านระบบออนไลน์และให้คำวินิจฉัย  
  • การติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยแพทย์ให้คำแนะนำและสั่งยาออนไลน์
  • การปรับใช้รถเข็น Telemedicine ในโรงพยาบาลหลายแห่งในไต้หวัน

กรณีตัวอย่างกรณีหนึ่งคือการปรับใช้รถเข็น Telemedicine ในโรงพยาบาลหลายแห่งในไต้หวัน รถเข็น Telemedicine เป็นทางเลือกที่ใช้งานได้จริงในสถานพยาบาลของไต้หวัน เนื่องจากสามารถติดตั้งได้ง่าย มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง

รถเข็นไร้สายแบบพกพาเหล่านี้ช่วยให้แพทย์จัดตั้งห้องแยกโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปกป้องข้อมูลผู้ป่วยโดยการใช้ระบบคลาวด์ส่วนตัวของโรงพยาบาล และการรวบรวมข้อมูลจากอุปกรณ์หลากหลายชนิดไว้ในที่เดียว

ตัวอย่างเช่น ห้องแยกโรคที่ช่วยลดการเดินทางไปมาและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ การปรึกษาทางไกลนำเสนอการดึงข้อมูลผู้ป่วยทันทีสำหรับการให้คำปรึกษาแบบออนไลน์ และการสอนทางไกลด้วยวิดีโอความชัดระดับ 4K แบบเรียลไทม์ นำเสนอสื่อการเรียนรู้ที่ถูกต้องแม่นยำ

เทเลเมดิซีน Telemedicine กับ Telehealth แตกต่างกันอย่างไร

เทเลเฮลท์ (Telehealth)

เทเลเฮลท์ หรือ “สุขภาพทางไกล” หมายถึง การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในการให้บริการด้านสุขภาพ รวมถึงการให้ความรู้ด้านสุขภาพ การติดตามผลการรักษา การป้องกันโรค และการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ทำให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพได้ง่ายขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่โรงพยาบาล

ตัวอย่างของ Telehealth:

  • การให้คำปรึกษาด้านโภชนาการจากนักโภชนาการผ่านแอปพลิเคชัน  
  • จัดอบรมออนไลน์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกาย  
  • นักกายภาพบำบัดให้คำแนะนำเกี่ยวกับการฟื้นฟูร่างกายผ่านวิดีโอคอลล์  
  • คีออสก์วัดสัญญาณชีพอัจฉริยะในโรงพยาบาลธนบุรี

ในโรงพยาบาลธนบุรี ประเทศไทย Telehealth ในรูปแบบของคีออสก์วัดสัญญาณชีพอัจฉริยะ ได้ช่วยปรับปรุงขั้นตอนการวัดสัญญาณชีพให้ง่ายขึ้น แบ่งเป็นสามขั้นตอนง่ายๆ และเชื่อมต่อบุคคล ชุมชน และโรงพยาบาลเข้าด้วยกันด้วย PHR

โรงพยาบาลสามารถให้การจัดการสุขภาพรายบุคคลได้โดยใช้การแสดงภาพการวิเคราะห์ข้อมูลสัญญาณชีพจากระบบคลาวด์ของโรงพยาบาล ยิ่งไปกว่านั้น การผสานรวมอย่างชาญฉลาดของเครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพ ช่วยลดภาระงานวัดสัญญาณชีพของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่สำคัญที่สุด คือ คีออสก์วัดสัญญาณชีพนี้มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มุ่งเน้นปรับปรุงประสบการณ์การรอของผู้ป่วยก่อนพบแพทย์ การนำคีออสก์วัดสัญญาณชีพมาใช้ช่วยให้โรงพยาบาลธนบุรีสามารถดูแลสุขภาพผู้ใช้บริการแบบองค์รวมได้มากขึ้น

iMVS-AIO_Intel Market Ready-2

 

เทเลเมดิซีน Telemedicine กับ Telehealth แตกต่างกันอย่างไร

หลายคนอาจสับสนกับคำศัพท์เหล่านี้เพราะมักถูกใช้สลับกัน ความแตกต่างระหว่าง Telemedicine และ Telehealth นั้นอยู่ที่การจัดการดูแลสุขภาพผ่านเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีอยู่ก่อนแล้ว

ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างทั้งสองคำนี้คือ เทเลเมดิซีน(Telemedicine) ใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมและวิธีการต่างๆ เพื่อให้คำปรึกษาหรือการรักษาระยะสั้นแก่ผู้ป่วย ในขณะที่ Telehealth จะให้แผนการรักษาระยะยาวโดยใช้ เทเลเมดิซีน(Telemedicine) เพื่อดูแลและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วย

ผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในเมืองที่มีประชากรหนาแน่นและเร่งรีบสามารถหลีกเลี่ยงการเดินทางมาที่คลินิก การติดอยู่ท่ามกลางการจราจรยาวนานหลายชั่วโมง การรอคอยไม่รู้จบ และการลางานหรือการจัดตารางงานใหม่

ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่ห่างไกลก็ได้รับประโยชน์จาก Telehealth และ  เทเลเมดิซีน(Telemedicine) เพราะช่วยขจัดความยากลำบากในการเดินทางไกลเพื่อไปพบแพทย์และแก้ไขปัญหาการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่มีอยู่อย่างจำกัด

เทเลเมดิซีน Telemedicine  เทเลเฮลท์ Telehealth
นิยาม การรักษาระยะสั้น การรักษาระยะยาว
ประโยชน์ ●   ลดการสัมผัสเชื้อโรค

●   บริการทางการแพทย์และการให้คำปรึกษาทันที

●   การตรวจสุขภาพเป็นประจำ

●   การตรวจสุขภาพระยะยาว แบบเคลื่อนย้ายได้

สินค้าที่เกี่ยวข้อง Telemedicine Carts Vital Sign Kiosk

 

ประโยชน์ของเทเลเมดิซีน Telemedicine และ เทเลเฮลท์ Telehealth

อีกนัยหนึ่ง ความแตกต่างระหว่าง เทเลเมดิซีน(Telemedicine) และ Telehealth คือเทเลเมดิซีนมีขอบเขตเฉพาะเจาะจงมากกว่า Telehealth แพทย์และผู้เชี่ยวชาญสามารถให้บริการผ่านเทคโนโลยีโทรคมนาคมเพื่อการแพทย์ทางไกลต่าง ๆ อาทิ Tele-care, Tele-surgery, Tele-education, Tele-consultation, Tele-monitoring และ Tele-prescription

เทเลเมดิซีน(Telemedicine) มักใช้เพื่อสื่อสารการวินิจฉัย การให้คำปรึกษา และการรักษาระยะสั้น นับตั้งแต่เกิดโรคระบาด ก็ได้กลายเป็นตัวเลือกที่แพร่หลาย เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้รับบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็ว แม้อยู่ในพื้นที่ห่างไกล

ประโยชน์ของเทเลเมดิซีน(Telemedicine):

  • ลดการสัมผัสเชื้อโรค: เนื่องจากการแพทย์ทางไกลจะลดปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวระหว่างแพทย์และผู้ป่วย จึงช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้
  • บริการทางการแพทย์และการให้คำปรึกษาทันที: เทเลเมดิซีน(Telemedicine) นำเสนอบริการทางการแพทย์และการให้คำปรึกษาทันที และเวลาคลินิกที่ยืดหยุ่นผ่านการประชุมคลินิกออนไลน์ ปรับปรุงการเข้าถึงการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยหลากหลายกลุ่ม

สรุปความแตกต่างระหว่าง เทเลเมดิซีน Telemedicine และ เทเลเฮลท์ Telehealth

เทเลเมดิซีน(Telemedicine) เหมาะกับการรักษาระยะสั้น ในขณะที่ Telehealth นั้นคือการรักษาระยะยาวโดยใช้วิธีต่าง ๆ ของ Telemedicine กล่าวอีกนัยหนึ่ง เนื่องจาก Telehealth มีปัจจัยด้านเวลา จึงเหมาะสำหรับการรักษาโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรักษาเพียงครั้งเดียว

ประโยชน์ของ Telehealth:

  • การตรวจสุขภาพเป็นประจำ: ในขั้นแรก Telehealth ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถจัดการกับผู้ป่วยที่มีอาการป่วยเรื้อรังได้ดีขึ้น ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดจะได้รับการรักษาทางการแพทย์ที่ปลอดภัยและสม่ำเสมอมากขึ้น
  • การตรวจสุขภาพระยะยาว แบบเคลื่อนย้ายได้: นี่คือการปฏิวัติอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่พิการหรือมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ตอนนี้พวกเขามีวิธีที่ปลอดภัยและง่ายกว่าในการรับการดูแลและการตรวจสุขภาพเพื่อติดตามอาการป่วยเรื้อรังของเขา ด้วยการลดอุปสรรคในการเข้าถึงการนัดหมายแพทย์ แพทย์สามารถตรวจสุขภาพผู้ป่วยเป็นระยะในขณะที่พวกเขายังคงอยู่ในบ้านอย่างปลอดภัย

โซลูชันเทเลเมดิซีน Telemedicine และ เทเลเฮลท์ Telehealth พิเศษสำหรับโรงพยาบาลทั่วไป

ตอนนี้เราได้สร้างความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง telemedicine และ telehealth แล้ว ต่อมาเราจะเจาะลึกเรื่องโซลูชันดูแลสุขภาพทางไกลแบบ all-in-one สำหรับโรงพยาบาลทั่วไป

การปรึกษาแพทย์ทางไกลระหว่างแพทย์และผู้ป่วยได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากช่วยลดการสัมผัสเชื้อโควิด โซลูชันเทเลเมดิซีน Telemedicine และ เทเลเฮลท์ Telehealth ของ imedtac บูรณาการข้อมูลผู้ป่วย วิดีโอ และข้อมูลสัญญาณชีพไว้ในแพลตฟอร์มเดียว ทำให้การรับคำปรึกษาออนไลน์จากผู้เชี่ยวชาญสะดวกยิ่งขึ้น และให้การดูแลผู้ป่วยรายบุคคลได้อย่างทันท่วงที

เทเลเมดิซีน Telemedicine กับ Telehealth แตกต่างกันอย่างไร

โซลูชัน Telehealth ของ imedtac มีข้อได้เปรียบหลักสี่ประการที่ทำให้โซลูชันนี้แตกต่างจากโซลูชันอื่นๆ ในตลาด:

1. ความยืดหยุ่นและความคล่องตัวสูง

ไร้สาย เคลื่อนย้ายสะดวกและตั้งค่าง่าย ความยืดหยุ่นและความคล่องตัวสูงทำให้สามารถเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องเชื่อมต่อติดตั้งแบบใช้สาย

2. รองรับการประชุมทางวิดีโอ/เสียง

รองรับกล้องระดับความคมชัด 1080P หรือ HD พร้อมระบบเสียงในตัว ช่วยให้ผู้ป่วยในห้องแยกโรคสามารถสื่อสารกับผู้ดูแลประจำหน่วยของตนได้ง่ายขึ้น

3. เกรดทางการแพทย์

อุปกรณ์ของ Imedtac มาพร้อมกับรถเข็นพยาบาลเกรดทางการแพทย์ สามารถทำความสะอาดฆ่าเชื้อได้ด้วยแอลกอฮอล์ 75%

4. ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ตรวจสอบสัญญาณชีพ

สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์หลากหลายชนิด และเชื่อมต่อกับระบบคลาวด์ส่วนตัวเพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลของผู้ป่วย

กำลังมองหาโซลูชันด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มเติมอยู่ใช่ไหม? ติดต่อ imedtac วันนี้ ให้เราแนะนำขั้นตอนการทำงานของ Telemedicine และ Telehealth สำหรับโรงพยาบาลอัจฉริยะของคุณ!

 

สนใจสินค้าสอบถามเพิ่มเติมได้ที่:

Email : Beren.Hsieh@imedtac.com

ติดต่อเรา : https://www.imedtac.com/th/contact/

 

บทความ เทเลเมดิซีนที่เกี่ยวข้อง:

สุขภาพดิจิทัลยกระดับการบริการสุขภาพในพื้นที่ชนบทอย่างไร

โรงพยาบาลตู้คอนเทนเนอร์หนทางการรักษาผู้ป่วยที่ดีที่สุดในช่วงเกิดภัยพิบัติ

imedact การแพทย์อัจฉริยะไทย สร้าง “การแพทย์ฉุกเฉินทางไกล-ตรวจจับภาวะเลือดออกในสมองด้วย AI”

Search
หมวดหมู่
เป็นที่นิยม
ล่าสุด
ที่เกี่ยวข้อง
Scroll to Top